Vtara36

ขอให้ผู้เช่าและผู้อาศัยในโครงการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้

ปล่อยเช่าระยะสั้นฝ่าฝืนพรบ.

ผู้ที่ละเมิดสิทธิของเจ้าของร่วมท่านอื่นในโครงการจะถูกดำเนินคดี มีโทษจำคุกหรือปรับตามพรบ.ห้องชุดตามกฎหมาย

ไม่ส่งเสียงดังในโครงการ

เนื่องจากโครงการนี้เป็นทรัพย์สินส่วนรวม กรุณาให้เกียรติกับลูกบ้านท่านอื่นโดยไม่ส่งเสียงดัง

รักษาความสะอาด

ไม่ทิ้งไม่วางขยะเรี่ยราด ในโครงการมีถังขยะและห้องทิ้งขยะทุกชั้น โปรดรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนรวม

บอร์ดประกาศของโครงการวีธารา36

อัพเดตล่าสุด: 5 มีนาคม 2567 เวลา 17:32น.

ร้านค้า
ใกล้กับโครงการวีธารา36

อู่ซ่อมรถ - ร้านซักผ้า - ร้านอาหาร - โรงพยาบาล

ดูเพิ่ม    

ร้านค้า
ใกล้กับโครงการวีธารา36

ดูเพิ่ม

อู่ซ่อมรถ - ร้านซักผ้า - ร้านอาหาร - โรงพยาบาล

Wow Laundry สุขุมวิท36

มือถือ 064-639-4115
ร้านเปิด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการไปซักผ้า อบผ้าด้วยตัวเอง ลูกค้าสามารถใช้บริการซักรีด อบแห้ง ซักแห้งได้ โดยให้ติดต่อในเวลาทำการ (08:30 – 18:30น.)
LINE ID:@wowlaundry 

CJ Auto (พระราม 4)

มือถือ 089-990-8998
โชว์จุ่งลูกหมาก ซ่อมรถ ซ่อมเปลี่ยน ลูกหมาก รถยนต์ทุกชนิด รถเก๋ง รถกะบะ รถตู้ รถยนต์ ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น *หยุดทุกวันอาทิตย์* เปิดจันทร์-เสาร์ 08.30-17.30น.
LINE ID: @cjauto333

โรงพยาบาล ผิวหนัง อโศก

โทร 02-246-5111
โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านผิวหนัง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการด้านสุขภาพผิวหนังอย่างครบวงจรที่สุดในประเทศไทย
เวลาทำการ: 09:00 – 21:00น.
LINE ID: @AsokeSkinhospital

Mala X (หมาล่า เอ็กซ์)

มือถือ 080-635-9426
Mala X Drypot มีหมี่หม่าล่าแบบผัดแห้ง และแบบซุปหม่าล่าสามารถเลือกวัตถุดิบเองได้ เลือกระดับความเผ็ดของหม่าล่าได้ ไปกินที่ร้านเดินไปได้ หรือสั่งได้จาก LINE Man ให้มาส่งที่โครงการ
INE ID:@malax.drypot

รพ.สมิติเวช สุขุมวิท 49

โทร 02-222-2222
โรงพยาบาลสมิติเวช กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในโรงพยาบาลเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในซอยสุขุมวิท 49

บ้านส้มตำ (สุขุมวิท40)

โทร 02-381-1879
ร้านอาหารอีสาน บ้านส้มตำ ให้คุณพร้อมแซ่บไปกับอาหารอีสานหลากรส ปรุงสะอาดอย่างพิถีพิถันจากวัตถุดิบที่คัดมาเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น ร้านอาหารอยู่ไม่ไกลจากโครงการแค่ซอยสุขุมวิท 40 
LINE ID: @baansomtum

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม
ที่พบบ่อย

(Q-A1) (การใช้ประโยชน์ในห้องชุดและทรัพย์ส่วนบุคคล) ระเบียบว่าด้วยเรื่อง การเข้าตกแต่งในห้องชุด มีอะไรบ้าง?

(A-A1) การตกแต่งห้องชุดมีระเบียบข้อบังคับดังต่อไปนี้
1.) ห้ามกระทำการใดๆต่อห้องชุด หรือ กระทืบกระเทือนให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้าง
2.) เจ้าของร่วมต้องปฎิบัติตามระเบียบ ข้อห้าม ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ตามที่บริษัทประกันภัยได้กำหนด
3.) เจ้าของร่วมต้องปฎิบัติตามระเบียบตามกฏระเบียบการเข้าตกแต่งภายในห้องชุด การวางเงินประกันความเสียหาย แจ้งนามผู้รับเหมา ควมคุมงานตลอดจนการกำชับให้ผู้รับเหมา และคนงานให้ปฎิบัติตามกฎระเบียบการเข้าตกแต่งการเคร่งครัด
4.) ห้ามเจ้าของร่วมกระทำการใดๆอันมีผลในทางเดือดร้อนเสียหาย ต่อ เสา คาน พื้นห้อง หรือผนังห้องชุด ไม่ว่าเป็นการกระทำในห้องชุด ส่วนของอาคารที่อยู่นอก สกัด เจาะหรือดัดแปลงแก้ไขพื้น เพดานห้องชุด หรือส่วนของอาคารที่อยู่นอกห้องชุดที่ติดทางเดินร่วม

5.) ห้ามกระทำการใดๆทั้งในและนอกห้องชุด ที่มีผลอันเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ ต่อทรัพย์สินส่วนกลาง หรือลักษณะภายนอกอาคาร รวมทั้งระเบียง

6.) ห้ามติดตั้งประตูเหล็กดัดที่ติดกับทางเดินร่วมและ/หรือห้ามติดตั้งเหล็กดัด กันสาดผ้าใบหรือวัสดุอื่นบริเวณหน้าต่างและระเบียง หรือส่วนภายนอกอาคาร และห้ามติดเครื่องหมาย สัญลักษณ์ป้ายที่ประตู หน้าต่าง ระเบียงหรือส่วนต่างๆภายนอกอาคารที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกอาคาร

7.) หากเจ้าของร่วม ไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับนี้ ระเบียบ หรือ คำสั่งใดๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับนี้ เจ้าของร่วมยินยอมให้นิติบุคคลอาคารดำเนินการแทนในฐานะผู้เสียหายกับเจ้าของร่วมที่ทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้ง แจ้งความ ฟ้องร้อง ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหายตามข้อบังคับนี้ โดยเจ้าของร่วมสละสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ต่อนิติบุคคล

*กรณีเจ้าของร่วมฝ่าฝืน เจ้าของร่วมยินยอมให้นิติบุคคลแจ้งความ ห้องร้อง ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย ต่อไป

(Q-A2) (การใช้ประโยชน์ในห้องชุดและทรัพย์ส่วนบุคคล) ระเบียบว่าด้วย ระบบการป้องกัน มีอะไรบ้าง?

(A-A2)
1.) ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการเปลี่ยนแปลง ท่อ หรือทางเดินระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า ประปา ระบบสุขาภิบาล ระบบเตือนภัยและระบบป้องกันอัคคีภัยของนิติบุคคลอาคารชุดภายในห้องชุดเด็ดขาด
2.) ห้ามละเมิดต่อข้อห้ามของบริษัทประกันภัย ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุระเบิด วัถตุไวไฟ เพื่อป้องกันอัคคีภัยและวินาศภัย
3.) ห้ามมิให้เจ้าของร่วม เพิ่มขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าประจำห้อง โดยไม่ได้รับอนุญาต
4.) ห้ามมิให้เจ้าของและบริวารใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงดังรบกวนเจ้าของร่วมอื่น โดยเด็ดขาด
5.) ห้ามนำวัตถุเคมีภัณฑ์ สารกัมมันตภาพรังสี วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุที่มีรุนแรงเป็นอันตรายต่อตัวอาคาร และมีผลกระทบต่ออนามัยส่วนรวม ตลอดจน แก๊ส รวมถึงสิ่งของที่มีน้ำหนักเกินกว่า 200 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร มาไว้ในห้องเด็ดขาด
6.) หากเจ้าของร่วม ไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับนี้ ระเบียบ หรือ คำสั่งใดๆ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับนี้ เจ้าของร่วมยินยอมให้นิติบุคคลอาคารดำเนินการแทนในฐานะผู้เสียหายกับเจ้าของร่วมที่ทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้ง แจ้งความ ฟ้องร้อง ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหายตามข้อบังคับนี้ โดยเจ้าของร่วมสละสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ต่อนิติบุคคล

(Q-A3) (การลงทำเบียนผู้อาศัย) ในกรณีที่เจ้าของร่วมที่อาศัยอยู่ในโครงการ สามารถลงทะเบียนสมาชิกในครอบครัวหรือผู้อาศัยได้อย่างไร?

(A-A3) การลงทะเบียนของผู้พักอาศัยของเจ้าของร่วมหรือผู้เช่า กรณีที่เป็นคนในครอบครัว ทางเจ้าของห้อง (ที่มีชื่อหลังโฉลด) สามารถพาคนในครอบครัวหรือญาติ มาลงทะเบียนผู้พักอาศัยใหม่ที่นิติบุคคล โดยเเนบบัตรประชาชนของเจ้าของร่วมห้องชุด เเละเขียนคาดข้อความอนุญาตให้เข้าพักอาศัย ห้อง 118/xxx ได้ กรณีไม่สะดวกมาด้วยตัวเอง เขียนข้อความยืนยันการเข้าพักอาศัยผ่าน อีเมล์ เเละเเนบเอกสารคาดข้อความ อนุญาตให้เข้าพักห้อง 118/xxx ด้วยเช่นกัน

(Q-A4) (การลงทำเบียนผู้เช่า) ในกรณีที่เจ้าของร่วมมีผู้เช่าห้อง การลงทะเบียนของผู้เช่ามีอะไรบ้าง?

(A-A4) เจ้าของร่วมต้องส่งเอกสารเเละให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผู้เช่าพักอาศัยเเก่นิติบุคคลอาคารชุด ดังต่อไปนี้
1.)​ ส่งสำเนาสัญญาการเช่าห้องชุด ที่ระบุระยะเวลาเริมต้น เเละสิ้นสุดการเช่าห้องชุด
2.) ลงทะเบียนผู้เช่าใหม่พร้อมกรอกเอกสารรายชื่อผู้ที่เข้าพักภายในห้องชุด
3.) เเจ้งชื่อ ญาติ พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน เเละสถานที่ทำงานพร้อมหมายเลข โทรศัพท์พร้อมสามารถติดต่อได้กรณีฉุกเฉินของผู้เช่า เเละผู้พักอาศัย ภายในห้องชุด
4.) เเจ้งหรือระบุการได้สิทธิ์ในการใช้บริการสันทนาการ คีย์การ์ดสำหรับจอดรถ คีย์การ์ดสำหรับการเข้าอาคารชุด เเละสิทธิ์การใช้พื้นที่จอดรถของอาคาร
5.) ส่งสำเนาบัตรประชาชนของผู้เช่าเเละเจ้าของห้อง
6.) เเจ้งให้ผู้เช่าทราบเเละปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุดทุกประการ เเละสามารถรับได้ที่ฝ่ายจัดการทุกวันเวลาทำการ
7.) กรณีที่ผู้เช่าเป็นชาวต่างชาติให้ส่งสำเนาหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ การให้เช่าพักอาศัย เจ้าของร่วม หรือโบรกเกอร์ เเละต้องลงทะเบียนกับ ตม.30 ด้วย
8.) กรณียกเลิกการเช่าห้องชุด เจ้าของร่วมต้องเเจ้งให้นิติบุคคลอาคารชุดทราบทันที

(Q-A5) (การต่อสัญญาเช่า) ผู้เช่าจำเป็นต้องลงทะเบียนเพื่ออัพเดตสัญญาเช่าหรือไม่?

(A-A5) โดยปกติเเล้วการทำสัญญาจะเป็นปีต่อปี หากมีผู้เช่าใหม่ต้องทำการยื่นเอกสารสัญญาให้กับทางนิติบุคคลหรือผู้เช่าต้องการต่อสัญญาเป็นปีที่ 2 ทางเจ้าของห้องต้องมีการเเจ้งอัพเดตข้อมูลให้ทางนิติฯทราบเเละต้องมีการนำส่งสัญญาของปีที่ 2 ด้วยเช่นเดียวกัน

(Q-A6) (การแสกนลายนิ้วมือ) เงื่อนไขการแสกนลายนิ้วมือเพื่อเข้าพื้นที่ในโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-A6) เงื่อนไขการเเสกนนิ้วเพื่อเข้าใช้ภายในพื้นที่โครงการห้องชุด วีธารา สุขุมวิท 36 มีดังต่อไปนี้
1.) ต้องเป็นเจ้าของร่วมหรือผู้เช่าระยะยาวที่มีเอกสารเท่านั้น
2.) อนุญาตให้ห้องชุดแต่ละยูนิตลงทะเบียนได้ถึง 5 คน แต่ละคนจะให้เเสกนนิ้วมือ 2 นิ้วโดยให้มีมือหลักเเละมือสำรอง (ในกรณีที่นิ้วบาดเจ็บ)

(Q-A7) (การแสกนลายนิ้วมือ) ขั้นตอนการแสกนลายนิ้วมือมีอะไรบ้าง?

(A-A7) ขั้นตอนการแสกนนิ้วมือของโครงการ วีธารา สุขุมวิท 36 มีดังต่อไปนี้
1.) ติดต่อกับฝ่ายจัดการนิติฯเพื่อทำการลงทะเบียนผู้พักอาศัยใหม่ของโครงการ
2.) เตรียมเอกสารให้ทางนิติบุคคลครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ บัตรประชาชนเจ้าของร่วมห้องนั้นๆและบัตรประชาชนผู้เช่า (หรือพาสปอร์ตในกรณีที่เป็นต่างชาติ)
3.) นิติฯจะประสานช่างอาคารเพื่อพาผู้อาศัยไปเเสกนนิ้ว ที่จุดเเสกนลลายนิ้วมือที่โครงการ​ซึ่งมีทั้งหมด 3 ที่ด้วยกันได้แก่ 3.1 สระว่ายน้ำ 3.2 ล็อบบี้อาคาร A 3.3 ล็อบบี้อาคาร E

(Q-B1) (ห้องประชุม-ห้องสมุด) เงื่อนไขในการใช้ ห้องประชุมหรือห้องสมุด ชั้น 1 อาคาร A มีอะไรบ้าง?

(A-B1)
1.) ห้องประชุม (หรือห้องสมุด)​ ของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. หรืออาจจะมีการปรับเปลี่ยนเวลาเปิด-ปิด โดยจะมีการประกาศแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน
2.) ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์เข้าไปรับประทาน และห้ามประกอบอาหารภายในห้องประชุม
3.) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ ฝ่ายจัดการขออนุญาตคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มตามอัตราการใช้งานจริง
4.) กรณีเจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัย ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกกรณี
5.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัยต้องปฎิบัติการกฏระเบียบ คำแนะนำ ป้ายประกาศต่างๆ และห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
6.) ไม่อนุญาตให้มีการกระทำสิ่งผิดกฏหมายในห้องประชุมทุกกรณี
7.) ขอสงวนสิทธิการใช้ห้องประชุม โดยห้ามบุคคลภายนอกใช้ห้องประชุมโดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัยที่มาใช้บริการ และขอสงวนสิทธิห้ามบุคคลใดไม่ปฎิบัติตามระเบียบข้างต้นใช้ห้องประชุม

(Q-B1) (ห้องประชุม-ห้องสมุด) เงื่อนไขในการใช้ ห้องประชุมหรือห้องสมุด ชั้น 1 อาคาร A มีอะไรบ้าง?

(A-B1)
1.) ห้องประชุม (หรือห้องสมุด)​ ของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. หรืออาจจะมีการปรับเปลี่ยนเวลาเปิด-ปิด โดยจะมีการประกาศแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน
2.) ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์เข้าไปรับประทาน และห้ามประกอบอาหารภายในห้องประชุม
3.) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ ฝ่ายจัดการขออนุญาตคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มตามอัตราการใช้งานจริง
4.) กรณีเจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัย ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกกรณี
5.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัยต้องปฎิบัติการกฏระเบียบ คำแนะนำ ป้ายประกาศต่างๆ และห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
6.) ไม่อนุญาตให้มีการกระทำสิ่งผิดกฏหมายในห้องประชุมทุกกรณี
7.) ขอสงวนสิทธิการใช้ห้องประชุม โดยห้ามบุคคลภายนอกใช้ห้องประชุมโดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าของร่วมและ/หรือผู้อยู่อาศัยที่มาใช้บริการ และขอสงวนสิทธิห้ามบุคคลใดไม่ปฎิบัติตามระเบียบข้างต้นใช้ห้องประชุม

(Q-B2) (สระว่ายน้ำ) เงื่อนไขในการใช้ สระว่ายน้ำส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B2)
1.) สระว่ายน้ำส่วนกลางของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น.
2.) ห้ามบุคคลต่อไปนี้ใช้บริการสระว่ายน้ำ
2.1 ผู้ป่วยโรคติดต่อทุกชนิด อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคหอบหืด รวมถึงโรคอันตรายอื่นๆ 2.2 เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยไม่มีผู้ปกครองดูแล
3.) ผู้ใช้บริการต้องสวมชุดว่ายน้ำตามแบบที่นิติบุคคลอาคารชุดกำหนดไว้ ชำระร่างกายทุกครั้ง และห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณสระว่ายน้ำ
4.) โปรดรักษาความสะอาด โดยห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณสระว่ายน้ำ และห้ามนำแก้ว วัสดุสิ่งของที่สามารถแตกได้ ก่อให้เกิดอันตรายเข้ามาให้บริเวณสระว่ายน้ำ
5.) ห้ามนำอุปกรณ์ที่ใหญ่เกิน ยกเว้นกระดานว่ายน้ำ ลูกบอลสำหรับโยนเล่นในน้ำ ลงมาเล่นในสระว่ายน้ำ
6.) ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สินส่วนตัว ทั้งนี้ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะไม่รับผิดชอบในการสูญหาย หรือ บาดเจ็บในขณะใช้บริการแต่อย่างใด

(Q-B3) (บริการสปา-ออนเซ็น) เงื่อนไขในการใช้ สปา ออนเซ็นส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B3)
1.) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น.
2.) โปรดรักษาความสะอาด โดยห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยง เข้ามาในบริเวณสปา ห้องซาวน่า ห้องออนเซ็น และห้ามนำแก้ว วัสดุสิ่งของที่สามารถแตกได้ ก่อให้เกิดอันตรายเข้ามาให้บริเวณดังกล่าว
3.) ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สินส่วนตัว ทั้งนี้ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะไม่รับผิดชอบในการสูญหาย หรือ บาดเจ็บในขณะใช้บริการแต่อย่างใด
4.) หากพบเห็นอุปกรณ์เสียหาย ความสะอาดของสปา ห้องซาวน่า ออนเซ็น ไม่เป็นปกติ ให้แจ้งฝ่ายจัดการรับทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข และหากเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หรือบริวาร ทำความเสียหายกับอุปกรณ์ หรือรอบๆบริเวณด้งกล่าว เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อนิติบุคคลอาคารชุด
5.) ทั้งนี้ระเบียบการใช้บริการสปาห้องซาวน่า ออนเซ็น สามารถสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

(Q-B4) (ฟิตเนสส่วนกลาง)​ เงื่อนไขในการใช้ ฟิตเนสส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B4)
1.) ฟิตเนสส่วนกลางของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดใหเบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น. โดยผู้ใช้บริการต้องลงบันทึกการใช้ฟิตเนส ตามที่ฝ่ายจัดการจัดเตรียมไว้
2.)โปรดใช้อุปกรณ์ในฟิตเนสตามวิธีที่ถูกต้องในคู่มือการใช้งาน และ ผู้ใช้ฟิตเนส จะต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบ คำแนะนำ ป้ายประกาศต่างๆ ดังนี้
2.1 ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้ามารับประทานอาหารภายในบริเวณฟิตเนส
2.2 ห้ามสูบบุหรี่
2.3 ห้ามเล่นการพนัน โดยเด็ดขาด
2.4 โปรดรักษาความสะอาด และ ใช้บริการฟิตเนสด้วยความสุภาพ ไม่รบกวนผู้อื่น
3.) ฝ่ายจัดการอาคารชุดขอสงวนสิทธิให้บริการเฉพาะบุคคลที่พักอาศัยในอาคารชุดเท่านั้น
4.) ห้ามมิให้ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง โรคติดต่อ โรคที่น่ารังเกียจ ใช้บริการฟิตเนส
5.) กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้ามาในบริการฟิตเนตจะต้องมีผู้ปกครองมาด้วยทุกครั้ง
6.) ผู้ใช้บริการฟิตเนสได้ทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ ผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น 7.) นิติบุคคลอาคารชุดขอสงวนสิทธิที่จะจำกัดจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการฟิตเนส ไม่เกิน 3 ท่านต่อ 1 ห้องชุดต่อครั้ง หรือกล่าวตักเตือนได้ตามความเหมาะสม

*ในกรณีที่เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หรือบริวาร ฝ่าฝืนระเบียบไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด และทางนิติบุคคลอาคารชุดได้แจ้งเตือนให้ปรับปรุงแก้ไขให้ปฎิบัติให้ถูกต้องแล้วยังเพิกเฉย นิติบุคคลอาคารชุดจะขอให้ยุติการให้บริการฟิตเนสทันที

(Q-B5) (ห้องซาวน่า)​ เงื่อนไขในการใช้ ห้องซาวน่าส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B5)
1.)​ ห้องซาวน่าของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดในบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น. โดยผู้ใช้บริการต้องลงบันทึกการใช้ซาวน่า ตามที่ฝ่ายจัดการจัดเตรียมไว้ ระเบียบการใช้ซาวน่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความเหมาะสม
2.) ผู้ใช้บริการต้องลงบันทึกการใช้ซาวน่าตามที่ฝ่ายจัดการได้จัดเตรียมไว้ และโปรดใช้อุปกรณ์ในซาวน่าตามวิธีที่ถูกต้อง ทำการเปิด-ปิดและตั้งอุณหภูมิตามคู่มือการใช้งาน
3.) ห้ามบุคคลต่อไปนี้ใช้บริการซาวน่า
3.1 ผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง หรืออยู่ในระหว่างพักฟื้น
3.2 ผู้ป่วยโรคติดต่อทุกชนิด อาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคหอบหืด
3.3 ผู้ที่มีอาการมึนเมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3.4 เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยไม่มีผู้ปกครองดูแล
4.) โปรดรักษาความสะอาด และ ใช้บริการซาวน่าด้วยความสุภาพ 5.) ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปในซาวน่า และห้ามสูบบุหรี่ในซาวน่า
6.) ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สินส่วนตัว ทั้งนี้ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะไม่รับผิดชอบในการสูญหาย หรือ บาดเจ็บในขณะใช้บริการแต่อย่างใด
7.) หากพบเห็นอุปกรณ์เสียหาย ระบบต่างๆของซาวน่าไม่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ ให้แจ้งฝ่ายจัดการรับทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขโดยทันที และหากเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หรือบริวารทำความเสียหายกับอุปกรณ์ในห้องซาวน่า เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อนิติบุคคลอาคารชุด 8.) นิติบุคคลอาคารชุดขอสงวนสิทธิที่จะจำกัดจำนวนผู้เช้ามาใช้บริการซาวน่าไม่เกิน 3 ท่านต่อ 1 ห้องชุดต่อครั้ง
*ในกรณีที่เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หรือบริวาร ฝ่าฝืนระเบียบไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด และทางนิติบุคคลอาคารชุดได้แจ้งเตือนให้ปรับปรุงแก้ไขให้ปฎิบัติให้ถูกต้องแล้วยังเพิกเฉย นิติบุคคลอาคารชุดจะขอให้ยุติการให้บริการซาวน่าทันที ทั้งนี้ ระเบียบการใช้บริการซาวน่าสามารถสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

(Q-B6) (ที่จอดรถยนต์) เงื่อนไขในการใช้ พื้นที่จอดรถ ภายในอาคารของโครงการ มีอะไรบ้าง?

(A-B6) 
1.) นิติบุคคลอาคารชุด​โครงการวีธารา สุขุมวิท 36 จะให้สติ๊กเกอร์สำหรับจอดรถ สำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยของนิติบุคคลอาคารชุดเท่านั้น
*ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาใช้พื้นที่จอดรถของอาคารชุดโดยเด็ดขาด เว้นแต่ จะมาติดต่อเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยเท่านั้น และสิทธิในการจอดรถในอาคารชุดสำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้ซื้อ โดยกำหนดสิทธิ์การจอดรถห้องชุดละ 1 คัน ซึ่งพื้นที่จอดรถถือเป็นพื้นที่ส่วนกลาง เว้นแต่ห้องชุดที่ได้รับสิทธิ์ที่จอดรถส่วนบุคคล ตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ยังได้สิทธิ์ในการจอดรถเพิ่มอีก 1 คันพื้นที่ส่วนกลาง
2.) ที่จอดรถอัตโนมัติ (Autopark) โดยสมาชิกที่มีความประสงค์จะใช้ที่จอดรถอัตโนมัติต้องทำการลงทะเบียนกับนิติบุคคล เพื่อคัดกรองขนาดของรถยนต์ และรถยนต์ที่จะผ่านเข้า-ออกในอาคารจอดรถได้ จะต้องมีความสูงไม่เกินกว่าระดับความสูงที่แสดงบนป้ายจำกัดความสูง บริเวณทางเข้าที่จอดรถภายในอาคาร
3.) ทางโครงการจัดให้มีเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV Charging Station Type Predestal Dual Port บริเวณลานจอดรถชั้น B1 อาคาร A จำนวน 1 เครื่อง 2 หัวจ่าย แยกเป็น 2 ชนิด 3.1 Connector TYPE I SAE-1772 3.2 Connector TYPE II IEC 62196-2 AC Outlet 20 A Universal เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยสามารถใช้บริการได้โดยมีค่าใช้จ่ายในอัตรา 5 บาท/1 หน่วยการใช้ไฟฟ้า (อัตราต่าบริการบริการอาจแปลงราคาเป็นทราบเป็นระยะ)
4.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยในอาคารชุด หรือผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำรถเข้ามาจอดในบริเวณอาคารชุด ต้องจอดรถในพื้นที่ที่นิติบุคคลอาคารชุดกำหนดเท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืน
4.1 จอดรถในพื้นที่ไม่ได้รับอนุญาต
4.2 จอดในพื้นที่ห้ามจอด
4.3 ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนด
4.4 ลักลอบนำรถเข้ามาจอดในอาคารชุดโดยไม่ได้รับอนุญาต นิติบุคคลอาคารชุดจะดำเนินการแจ้งเตือนโดยวาจา เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยในอาคารชุด นำรถคันดังกล่าวออกจากพื้นที่ลานจอดรถ แต่หากยังเพิกเฉย ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะทำหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร และทำการคิดค่าปรับความในระเบียบนี้ต่อไป
5.) ผู้นำรถเข้ามาภายในอาคารจอดรถ และ/หรือ ในพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุดจะต้องปฎิบัติดังนี้
5.1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกินกว่า 10 กม./ชั่วโมง และไม่ขับสวนทางขึ้น-ลง
5.2 ให้ขับรถตามเครื่องหมายจราจรและป้ายสัญลักษณ์อย่างเคร่งครัด
5.3 ให้จอดรถยนต์ตรงตามช่องจอดดรถหรือเครื่องหมายที่จัดเตรียมไว้ และจอดรถยนต์ให้ติดแนวสันกั้นล้อด้านใน
5.4 ไม่อนุญาตให้จอดรถบรรทุก หรือรถโดยสารทุกชนิดที่มีขนาดใหญ่ในลานจอดรถ เว้นแต่การจอดชั่วคราวสำหรับขนย้ายทรัพย์สิน หรือส่งของซึ่งต้องแจ้งต่อฝ่ายจัดการให้ทราบก่อนดำเนินการทุกครั้ง
5.5 ไม่จอดรถกีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการเข้า-ออก การเลี้ยวรถ และการจอดรถของรถคันอื่น 5.6 ไม่อนุญาตให้ล้างรถในบริเวณลานจอดรถ เว้นแต่สถานที่ที่นิติบุคคลอาคารชุดกำหนดให้เท่านั้น
5.7 ห้ามซ่อมแซมรถ ตกแต่งรถ หรือวางสิ่งของใดๆบนพื้นที่ลานจอดรถ กรณีมีความจำเป็นต้องใช้พิ้นที่ลานจอดรถเพื่อการเปลี่ยนอะไหล่รถ จะต้องได้รับอนุญาตจากนิติบุคคลอาคารก่อน
5.8 ไม่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ในพื้นที่จอดรถ ใช้พื้นที่จอดรถด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ก่อให้เกิดความเสียงดังรบกวนการอยู่อาศัย
5.9 ห้ามเล่นฟุตบอล หรือกีฬาทุกชนิดบริเวณลานจอดรถ
5.10 ไม่นำวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายอื่นๆ และสิ่งผิดกฎหมายเก็บไว้ในรถ
5.11 ไม่อนุญาตให้เล่นการพนันทุกประเภท หรือดื่มเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด หรือกระทำการใดๆ อันผิดกฎหมายบริเวณลานจอดรถ
6.) ผู้มาติดต่อ (Visitor) ซึ่งนำรถเข้ามาภายในบริเวณอาคารชุด จะต้องรับบัตรผ่านเข้าออกหรือป้าย Visitor สำหรับวางที่กระจกด้านหน้ารถ ทั้งนี้จะต้องทำการแลกบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ส่วนงานราชการออกให้ ไว้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย และต้องจอดรถในพื้นที่จอดรถ Visitor ที่กำหนดไว้เท่านั้น
7.) นิติบุคคลอาคารชุด ได้กำหนดการจัดเก็บค่าจอดรถ ในพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้ ผู้มาติดต่อจะต้องปฏิบัติและทำการชำระค่าใช้พื้นที่ส่วนกลาง สำหรับจอดรถ

(Q-B7) (ที่จอดจักรยานยนต์) เงื่อนไขในการใช้ ที่จอดรถจักรยานยนต์ส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B7)
1.) พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 มีไว้สำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยของนิติบุคคลอาคารชุดเท่านั้น จะต้องติดสติกเกอร์จอดรถจักรยานไว้บริเวณที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการตรวจสอบ และ ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาใช้พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์โดยเด็ดขาดเว้นแต่จะมาติดต่อกับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยเป็นครั้งคราวเท่านั้น
2.) นิติบุคคลอาคารชุดไม่ถือว่าพื้นที่จอดรถจักรยานยนต์เป็นที่รับฝากจักรยานยนต์แต่อย่างใด เพราะจัดสถานที่จอดรถไว้เพื่อบริการเท่านั้น ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายกับรถจักรยานยนต์ การเกิดอุบัติเหตุระหว่างคู่กรณี หรือการสูญหายของทรัพย์สินใดๆ ภายในบริเวณพื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ เจ้าของรถจักรยานยนต์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองและไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายใดใดจากนิติบุคคลอาคารชุด 3.) การจอดรถจักรยานยนต์สำหรับเจ้าของร้านหรือผู้พักอาศัย ต้องจอดรถจักรยานยนต์ภายในที่ที่กำหนดเท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนจอดในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต พื้นที่ห้ามจอด ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือลักลอบนำรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดในอาคารชุดโดยไม่ได้ได้รับอนุญาต ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะดำเนินการคิดค่าปรับ
4.) อัตราค่าจอดรถจักรยานยนต์ สำหรับผู้มาติดต่อ
4.1 รับบัตรผ่านเข้า-ออกแล้วให้เจ้าของร่วม/ตัวแทน/เจ้าหน้าที่ ประทับตราพร้อมเซ็นลายเซ็นกำกับ เพื่ออนุญาตให้บัตรก่อนออกจากโครงการโครงการอัตราค่าบริการ 2 ชั่วโมงแรกฟรีและชั่วโมงต่อไปราคาชั่วโมงละ 10 บาท (สิบบาทถ้วน) เศษของชั่วโมงคิดเป็น 1 ชั่วโมง หากไม่มีการประทับตรานิติบุคคลอาคารชุดหรือเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยคิดใช้พื้นที่จอดรถในอัตราชั่วโมงละ 30 บาท (สามสิบบาทถ้วน) เศษของชั่วโมงคิดเป็น 1 ชั่วโมง
4.2 บัตรชำรุดหรือสูญหายเสียค่าปรับ 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน) พร้อมทั้งคิดค่าจอด ข้อ 4.1 และต้องนำหลักฐานมาแสดงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์กับฝ่ายบริหารอาคารซึ่งจะนำรถจักรยานยนต์ออกจากอาคารชุดได้
*และในกรณีที่เจ้าของ ร่วมและหรือผู้พักอาศัย ฝ่าฝืนจอดรถรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต พื้นที่ห้ามจอด หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือลักลอบนำจักรยานยนต์เข้ามาจอดโดยไม่ได้รับ อนุญาต ต้องชำระค่าปรับในอัตราครั้งละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) และค่าปรับอีกไม่เกินวันละ 200 บาท (สองร้อยบาทถ้วน) ตลอดระยะเวลาที่ทำการฝ่าฝืน ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบการจอดรถจักรยานยนต์ตามความเห็นสมควร หากรถจักรยานยนต์มีจำนวนมากขึ้นอาจจะมีการพิจารณาพิจารณาคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์

(Q-B8) (สวนหย่อม) เงื่อนไขในการใช้ ส่วนหย่อมส่วนกลาง มีอะไรบ้าง?

(A-B8)
1.) สวนหย่อมส่วนกลางของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 เปิดใช้งานทุกวันเวลา 06.00- 22.00น. สวนหย่อมส่วนกลางมีไว้สำหรับ นั่งพักผ่อน เดินเล่นหรือทำกิจกรรม
2.)โปรดรักษาความสะอาดและเก็บขยะทุกครั้งที่มีมีการใช้งานส่วนกลาง ห้ามเด็ดดอกไม้ กิ่งไม้ หรือทำลายต้นไม้ต้นไม้ส่วนกลางเด็ดขาด หากพบเห็นอุปกรณ์เสียหาย หรือต้นไม้ตาย ให้แจ้งฝ่ายจัดการรับทราบ
3.) ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวเอง นิติบุคคลอาคารชุดจะไม่รับผิดชอบในการสูญเสียหรือบาดเจ็บในขณะใช้บริการแต่อย่างใด หากเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หรือบริวาร ความเสียหายกับอุปกรณ์ของส่วนกลาง เจ้าของร่วมหรือผู้พักอาศัยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง
4.) ห้ามจัดเลี้ยง จัดงานสังสรรค์ อันเป็นการสร้างความรำคาญให้กับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย หากเจ้าของร่วมและหรือผู้ใดต้องการใช้บริการสวนส่วนกลาง ในการจัดเลี้ยงหรือสั่งสอนต่างๆ ขอให้ยึดถือตามระเบียบ

(Q-B9) (จดหมายและพัสดุ) เงื่อนไขว่าด้วย การแจ้ง-รับ จดหมายและพัสดุ ที่ส่งมายังโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-B9)
1.) ตู้จดหมาย (Mailbox) ของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 จะอยู่ที่ชั้น 1 และแบ่งตามจุดของแต่อาคาร (แต่ละอาคารจะมีอยู่ 2 จุด) จดหมายธรรมดาที่เป็นซองจะใส่ไว้ในตู้จดหมายทุกวัน
2.) จดหมายธรรมดาหรือพัสดุธรรมดา ที่ไม่สามารถใส่ในตู้จดหมายได้ จะถูกเก็บไว้ที่สำนักงานนิติบุคคลโดยมีการแจ้งเตือนผ่านระบบ Smart World App และจะมีใบแจ้งรับไปใส่ไว้ในตู้จดหมายของ เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยเพื่อให้มาติดต่อรับภายใน 15 วัน
3.) จดหมายลงทะเบียน พัสดุลงทะเบียน หรือ EMS จะมีการแจ้งเตือนผ่านระบบ และจะมีใบแจ้งรับใส่ไว้ในตู้จดหมายของเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย เพื่อแจ้งว่ามีพัสดุ จดหมาย ลงทะเบียน EMS ถูกส่งมาถึงเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย สามารถรับจดหมายลงทะเบียน พัสดุลงทะเบียน หรือ EMS ได้ เมื่อแสดงใบแจ้งรับกับพนักงานฝ่ายจัดการที่สำหนักงานนิติบุคคล โดยต้องนำใบแจ้งรับและหลักฐานประจำตัวตามจ่าหน้ามาติดต่อรับทุกครั้ง
4.) ฝ่ายจัดการจะรับฝากของหรือสินค้าจากบริษัทขนส่งหรือสินค้าเอกชน เช่น Lazada True Kerry DHL FedEx หรือจากบุคคลภายนอกไว้ให้เจ้าของร่วมและหรือผู้พักอาศัยได้ โดยเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยจะต้องโทรศัพท์หรือแจ้งรายละเอียดของหรือสินค้าจากบริษัทขนส่งหรือสินค้าเอกชนให้ฝ่ายจัดการรับทราบแล้วเท่านั้น โดยฝ่ายจัดการจะไม่มีการแจ้งเตือน หรือออกใบแจ้งรับของหรือสินค้า เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยต้องประสานงานกับผู้ส่งเอกชนหรือจากบุคคลภายนอกเอง
5.) การติดต่อขอรับพัสดุหรือสินค้า เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยต้องแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของพัสดุ เช่น ใบเสร็จรับเงิน บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ เป็นต้น ทั้งนี้หากไม่มาติดต่อรับพัสดุหรือสินค้านั้นภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ฝ่ายจัดการรับพัสดุหรือสินค้านั้นไว้ ขอสงวนสิทธิ์ส่งคืนพัสดุหรือสินค้าดังกล่าวให้เอกชนหรือจากบุคคลภายนอก

(Q-B10) (การขอใช้สถานที่) กฎระเบียบการขอใช้ห้องประชุม (หรือห้องสมุด) มีอะไรบ้าง?

(A-B10)
1.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยที่ประสงค์จะใช้ ห้องประชุมหรือห้องสมุด อาคารหรือสถานที่เพื่อกิจกรรมต่างๆ ในโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 จะต้องแจ้งความจำนงที่จะขอใช้ โดยการกรอกแบบฟอร์มขอใช้อาคารสถานที่กับนิติบุคคลอาคารทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน การดำเนินกิจกรรมใดๆ ตามที่มีการร้องขอสามารถใช้อาคารสถานที่ได้เฉพาะช่วง 09.00-21.00น.เท่านั้น โดยระบุรายละเอียดของการใช้งานประกอบด้วย
1.1 แจ้งสถานที่ บริเวณ ห้อง พื้นที่ส่วนกลาง
1.2 แจ้งจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
1.3 แจ้งจำนวนรถยนต์ รถขนของที่เข้ามาจอดในบริเวณลานจอดรถ
1.4 แจ้งวัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่องเสียง ไฟฟ้า ฯลฯ ที่จะนำมาประกอบใช้
1.5 แจ้งรายการอาหารที่จะนำมาประกอบกิจกรรม
1.6 แจ้งเวลาเริ่มงานและสิ้นสุดงาน
1.7 แจ้งความประสงค์ในการขอพนักงานรักษาความปลอดภัยและพนักงานรักษาความสะอาด
1.8 ก่อนดำเนินกิจกรรม เจ้าของร่วมและหรือผู้พักอาศัยจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนิติบุคคลอาคารชุด
2.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยต้องชำระค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ อัตราชั่วโมงละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) อัตราการจัดเก็บอาจเปลี่ยนแปลงได้
2.1 การขอใช้อาคารสถานที่
2.2 การขอพนักงานรักษาความปลอดภัย
2.3 การขอพนักงานรักษาความสะอาด
3.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรมอย่างเคร่งครัด
4.) เจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยจะต้องวางเงินเงินสดค้ำประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ในอัตรา 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) โดยชำระเป็นเงินสดทันทีที่ยื่นคำขอ นิติบุคคลอาคารชุดจะทำการหักค่าธรรมเนียมต่างๆ จากเงินดังกล่าว กรณีจัดกิจกรรม ส่งผลให้อาคารสถานที่และอุปกรณ์พื้นที่ส่วนกลางเกิดความเสียหาย เจ้าของร่วมและหรือผู้พักอาศัยที่แจ้งความจำนงขอใช้สถานที่อาคารไว้ดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง
5.) นิติบุคคลสามารถหักค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามวงเงินค้ำประกัน ความเสียหายที่ทางเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยได้วางเอาไว้ หากวงเงินดังกล่าวไม่เพียงพอทางเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยจะต้องจ่าย เพิ่มตามค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่เหลือทั้งหมด และการคืนเงินค้ำประกัน นิติบุคคลจะดำเนินการคืนเงินค้ำประกันที่เหลือทั้งหมด หลังจากหักลบค่าความเสียหายในการใช้จ่ายอื่นที่เกิดจาก กิจกรรมของเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย (ถ้ามี) ภายใน 15 วันทำการหลังจากกิจกรรมดังกล่าวสิ้นสุดลง

(Q-B11) (ลิฟต์ขึ้นอาคาร) กฎระเบียบว่าด้วยการใช้ ลิฟต์ของอาคาร ในโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-B11)
1.) ห้ามกระทำการใดใดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อห้องลิฟต์โดยสาร ลิฟต์สำหรับลานจอดรถ หรือลิฟต์สำหรับขนของ/ดับเพลิง และระบบลิโดยรวม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำภายในลิฟท์และกฎระเบียบการใช้ลิฟท์ของนิติบุคคลอาคารชุดอย่างเคร่งครัด
2.) กรณีต้องการใช้ลิฟต์ขนวัสดุอุปกรณ์ในงานตกแต่งห้องชุดหรือขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ ทรัพย์สินต่างๆของเจ้าของร่วม ต้องแจ้งต่อฝ่ายจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกทุกครั้ง
3.) กรณีลิฟต์เกิดความเสียหายใดใดและสามารถตรวจสอบหาผู้กระทำความเสียหายได้ ผู้กระทำและหรือผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง และกรณีเกิดเหตุขัดข้องหรืออุปกรณ์ในลิฟต์เสียหาย โปรดแจ้งกลับฝ่ายจัดการเพื่อดำเนินการแก้ไข
4.) ห้ามติดประกาศหรือข้อความใดใดในตัวลิฟต์เด็ดขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนิติบุคคล
5.) ห้ามใช้ลิฟต์ขนาดเกิดเหตุเพลิงไหม้โดยเด็ดขาด

(Q-B12) (ที่จอดรถอัตโนมัติ) กฎระเบียบว่าด้วย การใช้ที่จอดรถอัตโนมัติ (Autopark) ของโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-B12)
1.) รถยนต์ทุกคันที่เข้ามาใช้บริการระบบจอดรถอัตโนมัติของอาคารชุด จะต้องผ่านการลงทะเบียน มีสติกเกอร์อนุญาตจอดรถในอาคารและผ่านการคัดกรองชนิดและขนาดของรถยนต์เรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าของร่วมและหรือผู้พักอาศัย สามารถนำเอกสารต่างๆดังต่อไปนี้
1.1 สำเนาโฉนดด้านหน้าและด้านหลัง (อ.ช.2)
1.2 สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของร่วม หรือ สำเนาบัตรประชาชนผู้พักอาศัย (ในกรณีเจ้าของร่วมมิได้พักอาศัยเอง)
1.3 สำเนาเล่มทะเบียนรถพร้อมรายละเอียด เช่น รุ่น ขนาด น้ำหนัก แสดงต่อไปนี้ แสดงต่อฝ่ายบริหารอาคาร เพื่อลงทะเบียนคัดกรองรถยนต์ และ รับคำเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งานระบบจอดรถยนต์อัตโนมัติ
2.) ห้ามนำรถยนต์ที่เกินขนาดเข้าใช้บริการระบบจอดรถอัตโนมัติโดยเด็ดขาด ขนาดของรถยนต์ที่สามารถใช้งานระบบจอดรถอัตโนมัติได้
2.1 ความยาวไม่เกิน 5 เมตร
2.2 ความกว้างไม่เกิน 1.85 เมตร

(Q-B13) (ที่ชาร์จรถยนต์ EV) เงื่อนไขในการใช้ ที่ชาร์จรถยนต์ EV ของโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-B13)
1.) ทำการเติมเงินเข้าระบบของ Bewallet ผ่านตู้บุญเติม
1.1 ต้องการจะทำการชาร์จไฟเข้ารถให้ดำเนินการต่อไปนี้
1.1.1 นำหัวชาร์จไฟ EV ที่อยู่ที่หัวจ่ายของเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV Charging Station ไปเสียบที่ช่องชาร์จไฟฟ้าของรถยนต์ จะขึ้นดวงไฟสีฟ้า PLUGGED
1.1.2 เปิดแอพพลิเคชั่น BeWallet (BeWallet Application) และเลือกฟังก์ชัน ชาร์จไฟรถ
1.1.3 ทำการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่อยู่บนเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV Charging Station
1.1.4 เลือกจำนวนเงินและใส่ PIN เพื่อดำเนินการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทำการตรวจเช็คยอดเงิน BeWallet ถ้าหากมีเงินเพียงพอ ก็จะมีคำสั่งให้เครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV Charging Station จ่ายไฟฟ้าให้รถยนต์ต่อไป
1.1.5 เมื่อทำการชาร์จไฟฟ้าเสร็จแล้วให้กดปุ่ม หยุด ในแอพพลิเคชั่น BeWallet และระบบจะทำการแจ้งผลการใช้งานดังกล่าวผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่อไป
2.) ถอดหัวชาร์จไฟฟ้า ไปเก็บไว้ที่เครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV Charging Station ดังเดิม

(Q-C1) (ความเสียหายในห้องชุด) ในกรณีที่ห้องชุดในโครงการเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ มีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไรบ้าง?

(A-C1)
1.) รีบดำเนินการเเจ้งความเสียหายให้บริษัทฯทราบทันทีโดยเเจ้งทางโทรศัพท์ อีเมล์
2.) ให้ทำการบรรเทาทรัพย์สินที่กำลังได้รับความเสียหาย ไม่ให้ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น
3.) เก็บรักษาทรัพย์สินที่เสียหาย เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบ
4.) ถ่ายรูปทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน
5.) ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าหรือตัวเเทนบริษัทประกันภัยในการตรวจสภาพความเสียหาย

(Q-C2) (ความคุ้มครองประกัน) ถ้าความเสียหายเกิดจากส่วนกลาง ประกันของทางโครงการสามารถครอบคลุมค่าความเสียหายอะไรบ้าง?

(A-C2)
1.) ส่วนกลางสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร(ไม่รวมรากฐาน) รวมถึงส่วนต่อเติมปรับปรุ่งอาคาร ทรัพย์สินต่างๆ ที่มีมาพร้อมกับการก่อสร้าง สิ่งติดตั้งถาวร รั้ว กำเเพง ป้อมยาม ป้ายโฆษณา หรือป้ายข้อความต่างๆ ลานจอดรถ เเละระบบต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกเเต่งติดตั้ง อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เเละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และทรัพย์สินอื่นๆ ที่เป็นของผู้เอาประกันภัย และทรัพย์สินที่อยู่ในความดูเเลหรือรับผิดชอบของผู้เอาประกันภัย ทุนประกันภัย 850,000,000.- บาท
2.) ทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของห้องชุด หรือผู้เช่าห้องชุด หมายถึง สิ่งตกเเต่ง ต่อเติม ปรับปรุงภายในห้องชุด เเละทรัพย์สินอื่นๆภายในห้องชุดหรือผู้เช่า หรือผู้อาศัย ที่นำเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แห่งการอยู่อาศัย เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เตียงนอน ตู้ โต๊ะ ชุดรับเเขก เเละเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ รวมของตกเเต่งเเละของใช้ส่วนตัว จำกัดความรับผิดไม่เกิน 100,000.- บาท ต่อห้อง (First Loss) จำนวนทั้งสิ้น 466 ห้อง (ไม่รวมทรัพย์สินประเภท เงิน ทอง ธนบัตร เเบบพิมพิ์ โบราณ วัตถุ เครื่องเพชร อัญมณี หรือเครื่องประดับมีค่าโทรศัพท์มือถือ เเทบเลต โน้ตบุค กล้องถ่ายภาพ กล้องวิดีโอหรือทรัพย์สิน ที่ใช้ในการพกพาทุกชนิด ) ทุนประกันภัย 46,600,000.- บาท
****ไม่คุ้มครองความสูญหายของทรัพย์สินตามข้อ 2 คือ ที่เกิดจากการลักทรัพย์ที่ไม่ปรากฏร่องรอยงัดเงาะ ต่อตัวอาคารประตู หรือหน้าต่างห้องชุด

(Q-C3) (ขอบเขตการแจ้งซ่อมภายใน) ช่างของโครงการสามารถทำการซ่อมแซมอะไรได้บ้าง?

(A-C3) สามารถตรวจสอบงานเบื้องต้นภายในห้องชุด ของเจ้าของห้องหรือผู้เช่าหรือผู้อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์เเห่ง การอยู่อาศัย เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เตียงนอน ตู้ โต๊ะ ชุดรับเเขก เเละเฟอร์นิเจอร์อื่น รวมของตกเเต่ง เปลี่ยนหลอดไฟ เปลี่ยนชุดอุปกรณ์ในห้องน้ำ อื่นๆ

(Q-C4) (ล้างแอร์) ช่างภายในโครงการสามารถล้างแอร์ให้ลูกบ้านได้หรือไม่?

(A-C4) การล้างเเอร์จัดว่าเป็นงานเฉพาะด้านเเละต้องมีเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน มีความรู้ทักษะทางด้านการล้างเเอร์ เเต่ช่างอาคารฯ จัดว่าเป็นช่างทั่วไปจะไม่มีความชำนาญ จึงสามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นเท่านั้น

(Q-C5) (แจ้งกรณีของส่วนกลางเสีย) ถ้าพบเห็นความบกพร่อง เช่น ไฟเสีย ลิฟต์มีปัญหา โต๊ะห้องประชุมชำรุด อินเตอร์เน็ตห้องประชุมใช้ไม่ได้ สามารถแจ้งได้ที่ไหน?

(A-E5) ท่านสามารถเเจ้งเข้ามาที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดได้โดยตรงที่ชั้นใต้ดิน ในกรณีที่ท่านต้องการกรอกใบคำร้องเพื่อเป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถเก็บเป็นหลักฐานได้ สามารถกรอกฟอร์มออนไลน์​ได้ที่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าว โดยคลิกไปที่ไอคอนด้านซ้ายสีเขียวเข้ม ล็อคอินด้วย G-mail เลือกหัวข้อร้องเรียนที่ "โครงสร้างอุปกรณ์ส่วนกลางอาคารชำรุด" ระบบจะส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่ซึ่งจะทำการประสานแจ้งช่างอาคารให้ทราบ เพื่อเข้าตรวจสอบในลำดับต่อไป

(Q-D1) (การปล่อยเช่าห้องชุด)​ เงื่อนไขในการปล่อยเช่าห้องชุดของเจ้าของร่วมมีอะไรบ้าง?

(A-D1) การปล่อยเช่าห้องชุด (ระยะยาวนานกว่า 1 เดือนเป็นต้นไป) มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.) เจ้าของร่วมห้องชุดสามารถนำกุญเเจหรือคีย์การ์ดมาฝากไว้ที่นิติฯฝ่ายจัดการไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอเข้าชมห้องชุด
2.) เมื่อผู้เช่ามาขอมาติดต่อเบิกกุญเเจคีย์การ์ดเข้าออกโครงการห้องชุด นิติฯฝ่ายจัดการจะมีการทำการบันทึกผู้มาติดต่อ เเต่จะไม่มีการส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไปเปิดปิดห้องด้วยกับผู้เช่า
3.) เจ้าของร่วมของห้องชุดจะต้องมีการเเจ้งอนุญาตให้ทางเจ้าหน้าที่นิติฯรับทราบก่อนเสมอ ในการให้เอเจ้นต์ทำการเบิกคีย์การ์ดออกไปได้

(Q-D2) (ขั้นตอนการปล่อยเช่า) ขั้นตอนในการปล่อยเช่าห้องชุดมีอะไรบ้าง??

(A-D2)
เจ้าของร่วมต้องส่งเอกสารเเละให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผู้เช่าพักอาศัยเเก่นิติบุคคลอาคารชุด ดังต่อไปนี้
1.) ส่งสำเนาสัญญาการเช่าห้องชุด ที่ระบุระยะเวลาเริมต้น เเละสิ้นสุดการเช่าห้องชุด
2.) ลงทะเบียนผู้เช่าใหม่พร้อมกรอกเอกสารรายชื่อผู้ที่เข้าพักภายในห้องชุด
3.)​เเจ้งชื่อ ญาติ พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน เเละสถานที่ทำงานพร้อมหมายเลข โทรศัพท์พร้อมสามารถติดต่อได้กรณีฉุกเฉินของผู้เช่า เเละผู้พักอาศัย ภายในห้องชุด
4.) ​เเจ้งหรือระบุการได้สิทธิ์ในการใช้บริการสันทนาการ คีย์การ์ดสำหรับจอดรถ คีย์การ์ดสำหรับการเข้าอาคารชุด เเละสิทธิ์การใช้พื้นที่จอดรถของอาคาร
5.) ส่งสำเนาบัตรประชาชนของผู้เช่าเเละเจ้าของห้อง
6.) เเจ้งให้ผู้เช่าทราบเเละปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุดทุกประการ เเละสามารถรับได้ที่ฝ่ายจัดการทุกวันเวลาทำการ
7.)​ กรณีที่ผู้เช่าเป็นชาวต่างชาติ ให้ส่งสำเนาหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ การให้เช่าพักอาศัย เจ้าของร่วม หรือโบรกเกอร์ เเละต้องลงทะเบียนกับ ตม . TM 30 ด้วย
8.) กรณียกเลิกการเช่าห้องชุด เจ้าของร่วมต้องเเจ้งให้นิติบุคคลอาคารชุดทราบทันที

(Q-D3) (เอเจนต์ของโครงการ) ทางโครงการมีเอเจนต์ปล่อยเช่าให้กับเจ้าของร่วมหรือไม่?

(A-D3) ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาเอเจนต์มาประจำโครงการ

(Q-D4) (ความผิดการปล่อยเช่ารายวัน) บทลงโทษของผู้กระทำผิดจากการปล่อยเช่ามีอะไรบ้าง?

(A-D4) ห้ามผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด "การค้า" หมายถึงการตกลงเเลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการ หรือทั้งสองอย่าง เช่น การให้เช่ารายชั่วโมง หรือการการเปิดให้เป็นสถานบริการอื่น เป็นต้น เจ้าของร่วมต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การใช้ห้องชุดของตนเป็นการใช้ห้องชุด เพื่อเป็นการพักอาศัยของตน เเละ/หรือบริวาร เเละ/หรือผู้เช่ารายเดือนเท่านั้น

ไม่อนุญาตให้ใช้ห้องชุดของตนให้เช่าเป็นที่พักอาศัยรายวัน อันเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฏหมายตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 17/1 พระราชบัญญัติโรงเเรม พ.ศ 2547 มาตรา 15

เเละไม่อนุญาตให้มีการใช้ห้องชุดของตนเป็นที่ทำงาน ห้างร้าน ที่พักชั่วคราว อพาร์ทเมนต์ให้เช่าระยะสั้น หรือการใช้ประเภทอื่นใด ซึ้งผู้จัดการนิติบุคคลพิจารณาเเล้ว ถือว่าเป็นการให้ใช้ เพื่อพักอาศัยชั่วคราว

เจ้าของร่วมรายใดฝ่าฝืนข้อบังคับในการให้เช่าเป็นเป็นที่พักอาศัยรายวัน ผู้จัดการนิติบุคคลมีอำนาจยับยั้ง ห้ามบุคคล ที่จะเข้าพักอาศัยเข้ามาในบนริเวณพื้นที่ของส่วนกลางของอาคารชุด เเละ/หรือ ให้มีอำนาจเชิญบุคคลที่ฝ่าฝืนออกจากนิติบุคคลอาคารชุดได้ด้วย โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทางเจ้าของห้องชุด ที่กระทำการผิดกฏหมายฝ่าฝืนข้อบังคับ เว้นเเต่เป็นการให้บริการเช่าพักอาศัยเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น

หากเจ้าของร่วม หรือบริวาร ญาติ เพือน อันมีความสัมพันธ์กับเจ้าของร่วม ฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด วีธารา สุขุมวิท 36 นี้ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุด วีธารา สุขุมวิท 36 เเจ้งเตือนให้ปรับปรุงเเก้ไข หรือปฏิบัติตามให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดเเล้ว ยังเพิกเฉย นิติบุคคลอาคารชุดจะถือว่าผู้นั้นจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษปรับ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เเละปรับอีกวันละ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ เเละขอสงวนสิทธิ ในการให้บริการ สาธารณูปโภค และอาจมีบทลงโทษตามมติคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด 

(Q-D5) (เอเจนต์ข้างนอก) ถ้ามีเอเจนต์ที่ใช้ส่วนตัว ต้องทำการแจ้งนิติฯ อย่างไร?

(A-D5) ทางเจ้าของห้องจะต้องมีการเเจ้งอนุญาต ให้ทางเจ้าหน้าที่นิติฯทราบก่อนเสมอ มีการให้ข้อมูลมาลงทะเบียนตามระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะให้เอเจนต์ทำการเบิกคีย์การ์ดออกไปใช้ได้

(Q-D6) (ชำระค่าส่วนกลางรายปี) เงื่อนไขในการจ่ายค่าส่วนกลางมีอะไรบ้าง ต้องจ่ายก่อนเมื่อไหร่?

(A-D6) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เจ้าของร่วมต้องชำระค่าใช้จ่าย โดยคำนวณตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ เเยกตามประเภทของค่าใช้จ่าย เจ้าของร่วมต้องจ่ายค่าใช้จ่าย ในอัตราตารางเมตรละ 55 บาท/เดือน

การชำระค่าส่วนกลาง ของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 จะเป็นการเรียกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้าประจำในแต่ละปี  ต้องชำระไม่เกินวันที่ 31 มกราคมของทุกปี โดยที่การล่วงเวลาการชำระในระยะเวลา 6 เดือนแรก จะเก็บค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่ม 12% หลังจากนั้นจะคิดอัตราเบี้ยปรับอยู่ที่ 20%

(Q-D7) (การจ่ายส่วนกลางล่าช้า) ในกรณีที่ลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลางประจำปีตามกำหนด จะมีการดำเนินการอย่างไร?

(A-D7)  หากไม่มีการชำระเข้ามาทางนิติบุคคลจะดำเนินการตามขั้นตอนนี้
1.) ทำการเตือนด้วยวาจา โดยการโทรเเจ้งให้ทราบเรื่องค่าส่วนกลาง
2.) เมื่อครบกำหนดล่วงเวลา 2 เดือน จะทำการออกใบเตือน ครั้งที่ 1 โดยส่งให้กับเจ้าของร่วมทางไปรษณีย์
3.) เมื่อครบกำหนด 4 เดือนออกใบเตือนครั้งที่ 2 โดยส่งให้กับเจ้าของร่วมทางไปรษณีย์
4.) ห้องที่ค้างค่าส่วนกลาง จะนำเสนอคณะกรรมการเพื่อเตรียมยื่นฟ้องทนายในลำดับต่อไป (Notice)
5.) ทำการฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาดเเละกันเงินส่วนค่าใช้จ่ายโอนเข้านิติบุคคล

(Q-D8) (จ่ายค่าไฟฟ้า) ลูกบ้านสามารถจ่ายค่าไฟฟ้าได้จากช่องทางไหนบ้าง?

(A-D8) ผู้อาศัยในโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 สามารถชำระค่าไฟฟ้าได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้ 
1.) เคาเตอร์ที่ 7Eleven
2.) จ่ายตรงกับการไฟฟ้านครหลวง ด้วยแอพพลิเคชั่น MEA Smart Life 
3.) จ่ายทางช่องทาง MPay ใน แอพพลิเคชั่น Smart World (โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10-15 บาท/ บิล)
*มีค่าธรรมเนียมการชำระตามที่บริษัทกำหนด

(Q-D9) (การจ่ายค่าไฟล่าช้า) ในกรณีที่ลูกบ้านไม่จ่ายค่าไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะเกิดอะไรขึ้น?

(A-D9) ทางการไฟฟ้านครหลวง (MEA) จะมาทำการจดมิตเตอร์ ไฟฟ้าของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 ทุกวันที่ 7 ของเดือน

หากบิลไฟฟ้านั้นไม่มียอดค้างหรือมียอดค้างก็ตาม ทางการไฟฟ้าจะนำใบเตือนเเจ้งให้ลูกค้าชำระค่าไฟฟ้า มาส่งให้นิติบุคคลฯ เเละนิติบุคคลฯ จะนำส่งเอกสารเเต่ละห้อง ผ่านช่องทาง LINE OA เเละ แอพพลิเคชัน Smart World ว่าให้ทำการชำระค่าไฟฟ้าภายใน 1 สัปดาห์ เมื่อทำการเเจ้งครบ 1 สัปดาห์ เเล้ว ยังไม่มีการชำระเข้าไปที่การไฟฟ้านครหลวง เจ้าหน้าที่ จะมาทำการอ็อฟเบรคเกอร์ไฟ เเละจะสามารถออนไฟฟ้ากลับคืน โดยทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าอีกครั้ง เมื่อมีการชำระ ยอดครบเเล้ว

หลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์หลังจากเเจ้งอ็อฟเบรคเกอรไฟเเล้ว เเละไม่มีการโอนชำระ ค่าไฟ ทางเจ้าหน้าที่จะนำใบตัดด่วน มาส่งให้กับนิติบุคคลฯ เเละจะทำการยกหม้อเเปลงไฟอนึ่ง เมื่อผู้อาศัยได้ทำการชำระครบเเล้ว ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง จะกลับเข้ามาเพื่อทำการติดตั้งหม้อแปลงไฟหลังจากทำการชำระเเล้วภายใน 1 วันทำการ

(Q-D10) (จ่ายค่าน้ำประปา) สามารถจ่ายค่าน้ำได้จากช่องทางไหนบ้าง?

(A-D10) ผู้อาศัยในโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 สามารถชำระค่าน้ำประปาได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้ 
1.) โอนจ่ายผ่านบัญชีของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36

ชื่อบัญชี: นิติบุคคล อาคารชุด  วีธารา สุขุมวิท 36
ธนาคาร: กรุงศรีอยุธยา 
หมายเลขบัญชี: 769-1-10464-5

*หลังจากโอนชำระเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องส่งสลิปการโอนเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงินให้ทาง LINE OA หรืออีเมลของโครงการเพื่อพนักงานสามารถทำการตัดหนี้ค้างจ่ายออกจากระบบ

2.) จ่ายทางช่องทาง MPay ใน แอพพลิเคชั่น Smart World (โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10-15 บาท/ บิล)
*ถ้าจ่ายจาก Mpay ของ Smart World หนี้ยอดชำระคงค้างจะถูกตัดออกจากระบบโดยอัตโนมัติ

(Q-D11) (การจ่ายค่าน้ำล่าช้า) ในกรณีที่ลูกบ้านไม่จ่ายค่าน้ำตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะเกิดอะไรขึ้น?

(A-D11) หากผู้เช่าหรือเจ้าของร่วมไม่มีการชำระค่าน้ำประปาครบเป็นเวลา 3 เดือน ฝ่ายจัดการบริหารนิติบุคคลฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการใช้น้ำประปาของห้องชุดนั้น จนกว่าจะมีเคลียร์ค่าใช้จ่ายดังกล่าว 

(Q-D12) (บัญชีธนาคารของโครงการ) บัญชีทางการที่ใช้ในการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ของโครงการห้องชุดวีธารา สุขุมวิท 36 คืออะไร?

(A-D12) บัญชีธนาคารทางการของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 ที่ลูกบ้านไว้โอนชำระค่าใช้จ่ายต่างๆของโครงการได้แก่

ชื่อบัญชี: นิติบุคคล อาคารชุด  วีธารา สุขุมวิท 36
ธนาคาร: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
หมายเลขบัญชี: 769-1-10464-5

*รหัส SWIFT: AYUDTHBKXXX

(Q-D13) (ระบบ MPay) หากไม่สามารถชำระ ค่าใช้จ่ายผ่านระบบ MPay ใน Smart World App ของบางธนาคารได้ควรทำอย่างไร?

(A-D13) ให้ลูกบ้านเเจ้งเรื่องเข้ามาที่นิติบุคคลเเละให้เเจ้งปัญหาเกี่ยวกับธนาคารอะไรบ้างที่ใช้งานไม่ได้ ทางเจ้าหน้าที่นิติบุคคลจะประสานเเจ้ง ไปยังซัพพอร์ตของ Smart World App ให้ตรวจสอบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในลำดับต่อไป

(Q-E1) (สติ๊กเกอร์รถยนต์) เงื่อนไขการขอสติ๊กเกอร์รถยนต์มีอะไรบ้าง ?

(A-E1)
1.) นิติบุคคลอาคารชุดจะให้สติ๊กเกอร์สำหรับจอดรถ สำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยของนิติบุคคลอาคารชุดเท่านั้น ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาใช้พื้นที่จอดรถของอาคารชุดโดยเด็ดขาด เว้นแต่ จะมาติดต่อเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยเท่านั้น และสิทธิในการจอดรถในอาคารชุดสำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้ซื้อ โดยกำหนดสิทธิ์การจอดรถห้องชุดละ 1 คัน ซึ่งพื้นที่จอดรถถือเป็นพื้นที่ส่วนกลาง เว้นแต่ห้องชุดที่ได้รับสิทธิ์ที่จอดรถส่วนบุคคล ตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ยังได้สิทธิ์ในการจอดรถเพิ่มอีก 1 คันพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งนี้ นิติอาคารชุด ไม่อนุญาตให้จำหน่าย โอนสิทธิ์ หรือใช้เช่าสิทธิ์การจอดรถกับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยในอาคารชุดรายอื่น นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ถือว่าการให้พื้นที่จอดรถเป็นการรับฝากรถแต่อย่างใดหากเกิดความเสียหายกับรถ หรือสูญหายของทรัพย์สินใดๆภายในบริเวณพื้นที่จอดรถเจ้าของรถต้องเป็นผู้รับผิดชอบและไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากนิติอาคารชุด
2.) นิติบุคคลอาคารชุดจะให้สติ๊กเกอร์ โดยเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัย ต้องทำการกรอกแบบฟอร์มพร้อมแสดงหลักฐาน ในการขอสติ๊กเกอร์จอดรถ ดังนี้
2.1 สำเนาหนังสือแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2)
2.2 สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 สำเนาทะเบียนรถ กรณีป้ายแดง ให้ยื่นประกอบในภายหลังเมื่อได้ทะเบียนรถตัวจริงแล้ว

(Q-E2) (สติ๊กเกอร์รถจักรยานยนต์) เงื่อนไขการขอสติ๊กเกอร์รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง ?

(A-E2)
1.) พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์มีไว้สำหรับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยของนิติบุคคลอาคารชุดเท่านั้น จะต้องติดสติกเกอร์จอดรถจักรยานไว้บริเวณที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการตรวจสอบ และ ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาใช้พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์โดยเด็ดขาดเว้นแต่จะมาติดต่อกับเจ้าของร่วมและ/หรือผู้พักอาศัยเป็นครั้งคราวเท่านั้น
2.) นิติอาคารชุดจะให้สติกเกอร์สำหรับจอดรถจักรยานยนต์ ห้องละ 1 สิทธิ์ (1ใบ) โดยเจ้าของร่วมและหรือผู้พักอาศัยต้องทำการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนพร้อมแสดงหลักฐานการขอสติกเกอร์รถจักรยานยนต์ดังนี้
2.1 สำเนาหนังสือแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2)
2.2 สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 สำเนาทะเบียนรถจักรยานยนต์

(Q-E3) (คีย์การ์ดเข้าโครงการ) เงื่อนไขการออกบัตรคีย์การ์ดเข้าเพื่อเข้าพื้นที่ในโครงการมีอะไรบ้าง?

(A-E3)
1.) เจ้าของร่วมมีสิทธิ์ขอรับบัตรคีย์การ์ด(ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ตามสิทธิ์ดังนี้
1.1 ห้องชุดพักอาศัยแบบ Studio 1 ห้อง มีสิทธิ์ได้รับคีย์การ์ดจำนวน2 ใบ
1.1.1 ใบที่ 1 ใช้เข้า-ออกเฉพาะตัวอาคารลิฟท์โดยสารเท่านั้น ไม่สามารถเข้าออกผ่านไม้กันลานลานจอดรถได้
1.1.2 ใบที่ 2 (บัตรจอดรถ) ใช้เข้า-ออกอาคารลิฟท์โดยสารและผ่านเข้าออกไม้กันลานจอดรถได้
1.2 ห้องชุดแบบพักอาศัย 2 ห้องนอน มีสิทธิ์ได้รับคีย์การ์ดจำนวน 3 ใบ
1.2.1 ใบที่1และ2 ใช้สำหรับเข้า-ออกอาคารลิฟท์โดยสารเท่านั้น
1.2.2 ใบที่ 3 (บัตรจอดรถ) ใช้สำหรับเข้า-ออกอาคารลิฟท์โดยสารและไม้กันลานจอดรถ 2.) นิติบุคคลอาคารชุดไม่อนุญาตให้จำหน่าย จ่ายโอน ขายสิทธิ์ เช่าสิทธิ์ ในการใช้บัตรคีย์การ์ดและผู้ใช้สิทธิ์ดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารชุดเท่านั้น กรณีต้องการซื้อบัตรคีย์การ์ดเพิ่มเติมสามารถซื้อได้ไม่เกิน 2 ใบต่อห้องชุดในอัตราใบละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
3.) กรณีเจ้าของร่วมทำการปล่อยห้องชุดให้เช่า จะต้องนำคีย์การ์ดที่ครอบครองอยู่ให้กับผู้เช่าที่เป็นผู้ใช้งานต่อไป ซึ่งหากมีการขอเพิ่มหรือจัดซื้อใหม่ นิติบุคคลอาคารชุดจะขอลบข้อมูลในบัตรคีย์การ์ดใบเดิมก่อน แล้วจึงจะออกบัตรคีย์การ์ดใบใหม่ให้แก่ผู้เช่าพักอาศัย
4.) เมื่อเจ้าของร่วมหมดสภาพการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้ถือว่าบาดคีย์การ์ดสิ้นสภาพไปตามสิทธิ์นั้นเช่นกัน
5.) บุคคลใดกระทำการปลอมแปลงบัตรคีย์การ์ด หรือใช้โดยไม่มีสิทธิ์ ในการใช้พื้นที่จอดรถของอาคารชุด นิติบุคคลจะทำการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน) และสงวนสิทธิ์ในการระงับ การใช้สิทธิ์ที่จอดรถพร้อมระงับการให้บริการสาธารณูปโภคส่วนกลางและจะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

(Q-E4) (สติ๊กเกอร์จอดรถหมดอายุ)​ ลูกบ้านที่จอดรถด้วยสติ๊กเกอร์ที่หมดอายุผิดระเบียบหรือไม่?

(A-E4) ลูกบ้านของโครงการวีธารา สุขุมวิท 36 จำเป็นต้องเปลี่ยนสติ๊กเกอร์ได้กับฝ่ายบริหารจัดการนิติฯ ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นๆ และสามารถใช้สติ๊กเกอร์ของปีที่แล้วได้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ในแต่ละปีเป็นต้นไป ถ้าฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษตามกฎระเบียบ

ในกรณีที่ลูกบ้านจอดรถที่ชั้น B1 และ B2 ด้วยสติ๊กเกอร์ของปีที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นไป รถยนต์จะถูกล็อคล้อและผู้กระทำผิดต้องจ่ายค่าปรับกับฝ่ายจัดการนิติฯ​ เป็นจำนวน 500 บาท เพื่อปลดล็อคล้อ

(Q-E5) (เพื่อนบ้านส่งเสียงดัง) ถ้าเพื่อนบ้านห้องในชั้นเดียวกันส่งเสียงดังรบกวนการใช้ชีวิตควรทำอย่างไร?

(A-E5) ถ้าเพื่อนบ้านของคุณส่งเสียงดัง มีแนวทางในการแก้ปัญหาได้ดังต่อไปนี้ 
1.) หาอุปกรณ์ช่วยป้องกันหรือลดความดังของเสียงเข้ามาในห้องชุด เช่น
-ใช้วัสดุซับเสียง เเผ่นดูดซับเสียง เเละวอลเปเปอร์โดยเฉพาะชนิดหนาเเบบโฟม ซึ้งจะช่วยซึมซับเเละลดทอนความดังของเสียงได้
- ปิดช่องโหว่ไม่ให้เสียงเข้ามา ควรหาเเผ่นโฟม เเผ่นยาง หรือเเผ่นซิลิโคนมาติดใต้ประตู เพื่ออุดช่องว่างระหว่างบานประตู กับพื้น
2.) เจรจาขอความร่วมมือ หากเสียงดังมากจริงๆ เเละดูเเล้วเพื่อนบ้านน่าจะพอพูดคุยกันได้ ให้ลองเเก้ปัญหาด้วยการเกริ่นถึงปัญหาเสียงดังที่เกิดขึ้น หากพอจะพูดคุยกันรู้เรื่อง ก็ขอให้เพื่อนบ้านช่วยลดเสียงหรืออย่าส่งเสียงดังยามวิกาลหรือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม
3.) ขอความช่วยเหลือจากฝ่ายจัดการนิติบุคคลอาคารชุดของคอนโด หากดูเเล้วไม่น่าจะคุยกับเพื่อนบ้านได้ หรือได้ขอร้องกันดีๆ แล้วไม่ได้ผล แก้ปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง ได้โดยการไปร้องเรียนกับนิติบุคคลฯ ซึ้งมีหน้าที่ดูเเลปัญหาภายในคอนโด นิติบุคคลฯจะเเจ้งเตือนครั้งที่ 1 (เตือนด้วยวาจา) ครั้งที่ 2 (ออกหนังสือเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร) และครั้งที่3 (ปรับเป็นเงินตามระเบียบการพักอาศัย เป็นจำนวน 1,000 บาท
4.) นอกจากนี้ท่านยังสามารถ ส่งหลักฐานโดยการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์​ในเว็บไซต์นี้ โดยคลิกไปที่ไอคอนด้านซ้ายสีเขียวเข้ม ล็อคอินด้วย G-mail เลือกหัวข้อร้องเรียนที่ "ปัญหาจากเพื่อนบ้าน" และทำการอัพโหลดรูปภาพแลวีดีโอเพื่อเป็นหลักฐาน ถ้าส่งวีดีโอไม่ผ่าน สามารถส่งมาทางอีเมลของนิติบุคคลได้  เพื่อให้ฝ่ายจัดการนิติบุคคลไปดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ อนุญาติ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save